ReadyPlanet.com
dot dot
dot
พ.อ.ธนวัฒน์  วิริยาวุทธ
dot
dot
dot
dot
dot
bulletประวัติและภารกิจของหน่วย
bulletนโยบายด้านการฝึก
dot
dot
bulletฝ่ายเตรียมการ
bulletฝ่ายสนับสนุน
bulletหน่วยฝึก
dot
dot
bulletผกท.จว.นครนายก
bulletผกท.จว.ปราจีนบุรี
bulletผกท.จว.ฉะเชิงเทรา
dot
dot
bulletจังหวัดนครนายก
bulletจังหวัดปราจีนบุรี
bulletจังหวัดฉะเชิงเทรา
dot
dot
bulletพ.ร.บ.รับราชการทหาร
bulletการลงบัญชีทหารกองเกิน
bulletสิทธิของนักศึกษาวิชาทหาร
bulletโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการ
bulletการปฏิบัติระหว่างรับการฝึก
bulletระเบียบและคำสั่ง
dot
dot
bulletนศท.ชั้นปีที่ 1
bulletนศท.ชั้นปีที่ 2
bulletนศท.ชั้นปีที่ 3
bulletนศท.ชั้นปีที่ 4
bulletนศท.ชั้นปีที่ 5
dot
dot
bulletภาคปกติ
bulletภาคสนาม
bulletจิตอาสา
dot
dot




Home Isolation สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยทำอย่างไร

 การรักษาตัวของผู้ป่วยโควิด-19 จำเป็นต้องใช้เตียงเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดภาวะเตียงไม่พอต่อความต้องการ การทำ Home Isolation เป็นทางหนึ่งของการรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าสามารถทำได้ โดยตลอดการกักตัวรักษาอาการ แพทย์จะคอยให้คำแนะนำและสอบถามประเมินอาการผ่านอุปกรณ์สื่อสารทุกวัน

 

Home Isolation คืออะไร

 

คือแนวทางปฏิบัติเมื่ออยู่ในสภาวะการแพร่เชื้อรุนแรงจนเตียงไม่เพียงพอต่อการรักษา ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ค่อยมีอาการสามารถพักรักษาตัวที่บ้าน หรือสถานที่เฉพาะที่ถูกจัดไว้ให้แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโดยจะได้รับความช่วยเหลือและการติดตามอาการจากแพทย์อยู่เสมอ โดยปกติแล้วผู้ที่ทำ Home Isolation ได้จะต้องมีเกณฑ์ ดังนี้

 

  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวแล้ว : สำหรับผู้ที่รักษาตัวประมาณ 7-10 วันในโรงพยาบาล และแพทย์วินิจฉัยว่าสามารถรักษาตัวต่อที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยวิด-19 ที่กำลังรอเตียง : สามารถทำ Home Isolation ได้หากผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ตามความเหมาะสม หรือผู้ป่วยสีเขียว คือมีอาการไข้ ไอเจ็บคอมีน้ำมูก ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส มีผื่น และถ่ายเหลว แต่ไม่มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบาก ปอดไม่อักเสบ และระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%

 

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถ Home Isolation ได้

 

  • อายุไม่เกิน 60 ปี
  • สุขภาพแข็งแรง มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ
  • ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้อาศัยร่วมด้วยไม่เกิน 1 คน
  • ต้องไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ-หลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอด

 

Home Isolation

 

เป็นผู้ป่วย Home Isolation ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

 

  • กักตัวอยู่ในพื้นที่ห้ามออกจากที่พัก และห้ามให้ผู้อื่นเข้าเยี่ยม
  • หากมีคนอยู่ในบ้านต้องรักษาระยะห่างไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • ห้ามใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และแยกห้องน้ำใช้หากสามารถทำได้
  • ไม่ทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกซักเสื้อผ้ากับผู้อื่น
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ และแยกขยะมัดปากถุงให้แน่น

 

การทำ Home Isolation ยังต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นนอกจากเจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย ได้แก่ ถุงสำหรับขยะฆ่าเชื้อ ทิชชูทั้งชนิดแห้งและเปียก น้ำยาฟอกขาวทำความสะอาด และยารักษาโรคที่ทานเป็นประจำ

 

ทำ Home Isolation แต่ไม่ได้รับการติดต่อสังเกตอาการควรทำอย่างไร

 

  • กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนที่ https://crmsup.nhso.go.th/ หรือแอดไลน์ @nhso และกดลงทะเบียนในระบบดูแลที่บ้าน Home Isolation และรอเจ้าหน้าที่ยืนยันข้อมูล
  • เมื่อได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับข้อมูล ได้แก่ Video Call ประเมินอาการ 2 ครั้งต่อวัน / อาหาร 3 มื้อ / ยาพื้นฐานและยาฟ้าทะลายโจร / เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว / ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล / การประสานงานรับการรักษากรณีอาการหนักขึ้น

 

 

 




คอลัมน์ประจำเว็บ

ข้อควรรู้ของวัคซีนโควิด-19
ฉีดวัคซีน
" ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก "
ข้อปฏิบัติก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
คุณลักษณะ รด.นิวเจน 8 ประการ
สด.9 คืออะไร ทำไมต้องทำ ?



Copyright © 1962 nstprachin thailand

ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 12
ที่อยู่ :  906 หมู่ที่ 12 : ตำบลดงพระราม : อำเภอเมือง
จังหวัด :ปราจีนบุรี     รหัสไปรษณีย์ :25000
โทร :  037213446 ,037213349     แฟ็กซ์ :  037213446
อีเมล : rdmtb@gmail.com
เว็บไซต์ : www.nstprachin.com